กล่องข้อความ: 		7-50100-001-173  		  ชื่อพื้นเมือง	:  มะขาม  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Tamarindus indica L.  ชื่อวงศ์	:  CAESALPINIACEAE  ชื่อสามัญ	:  Tamarind  ประโยชน์	:  สรรพคุณทางด้านสมุนไพร ใบแก่ แก้บิด แก้ไอ เนื้อในฝัก แก้ท้องผูก  แก้กระหายน้ำ เปลือกเมล็ด แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน สมานแผล เมล็ดใน ขับพยาธิไส้เดือน

บริเวณที่พบ : ทิศตะวันตก อาคารศรีสวรินฯ
ลักษณะพิเศษของพืช : ไม้ผล, สมุนไพร
ลักษณะทั่วไป
ต้น : ไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน แตกสะเก็ดเป็นร่องเล็ก ๆ ตามแนวยาว กิ่งเหนียวหักยาก
ใบ : ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับใบย่อย ใบย่อยมีความกว้าง 5 - 8 มม. ยาว 1 - 1.5 ซม.
ดอก : ดอกเป็นช่อเล็ก ๆ ออกที่ซอกใบและปลายกิ่ง เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกสีเหลืองมี ลายสีม่วงแดง
ออกดอกในฤดูฝนราวเดือนพฤษภาคม ถึงสิงหาคม ดอกโรยและจะติดฝัก
ผล : เป็นฝัก มีรูปร่างยาวหรือโค้งงอรูปทรงกระบอกเล็กน้อย ฝักอ่อนมีสีเขียว ผิวเปลือกมี นวลหรือละลองสีน้ำตาล เนื้อในสีขาวนวล
ฝักแก่เนื้อเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม เปลือกฝัก แห้งเป็นสีน้ำตาล เนื้อหุ้มเมล็ดติดกันตลอดทั้งฝัก มีเส้นใยยึด 3 เส้นตามความยาวฝัก(รก)
เมล็ด : เมล็ดอ่อนมีเปลือกสีขาวเมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มเป็นมันเงา มีเมล็ด เฉลี่ยต่อฝักประมาณ 3 - 10 เมล็ด
ประโยชน์ :
      สรรพคุณทางยาไทย มะขามเปียกใช้เป็นยาถ่ายได้ เนื่องจากมีกรดทาร์ทาริค (tartaric acid) และกรดซิตริก (citric acid)
เปลือกต้นใช้เป็นยาสมานคุมธาตุ เนื้อในเมล็ดใช้เป็นยาฆ่าพยาธิไส้เดือน ใบและยอดอ่อนมีรสเปรี้ยวใช้ในการอบสมุนไพร
     ประโยชน์ด้านอาหาร ใบมะขามและดอกใช้เป็นอาหารได้ เนื้อในมะขามใช้เป็นอาหารทั้งที่ยังอ่อนและแก่ เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน
อุปกรณ์ทางการเกษตรรวมทั้งเขียงที่มีคุณภาพดี

ลักษณะวิสัย

กลับหน้าหลัก
ดอก
ใบ
ลำต้น
ฝัก

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้    มะขาม    รหัสพรรณไม้   7-50100-001-173